วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ราอูล คาสโตร ธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์..คอมมิวนิสต์ตายไม่ได้

ราอูล คาสโตร ธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์...คอมมิวนิสต์ตายไม่ได้

ในวันที่ ราอูล คาสโตร(Raul Modesto Castro) น้องชายผู้เคียงบ่าเคียงไหล่มาในการปฏิวัติประเทศคิวบา กับอดีตประธานาธิบดีฟิเดลคาสโตรขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่23 ของประเทศสาธารณรัฐคิวบา เมื่อวันที่25 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีคนใหม่กล่าวปราศรัยถึงการเปลี่ยนแปลงว่าแม้ครั้งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่ก็จะเป็นไปอย่างมีขีดจำกัด

ฟังสะดุดหูว่า ฯพณฯหมายความกระไรหรือท่านแก่แล้วจึงออกตัวไว้ก่อนว่าคงไม่อยากทำอะไรมากมายให้ลำบากต่อสังขารที่ปาเข้าไป76 ปีแล้ว หากคาสโตรผู้น้องก็ขยายความว่าแม้เขาจะขึ้นมารับตำแหน่งแทนพี่ชายแต่อย่างไรแล้วเขาก็จะต้องรอความเห็นหรือไปขอคำปรึกษาในเรื่องสำคัญๆของประเทศจากอดีตประธานาธิบดีฟิเดลคาสโตรอยู่ดีเพราะท่านผู้น้องเห็นว่าท่านผู้พี่ก็ยังไม่ได้ล้มหายตายจากแถมยังคิดอ่านคล่องแคล่วดีที่สำคัญในความรู้สึกของราอูลคาสโตรวันนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหล่าผู้นำการปฏิวัติจากยุค 50 จะส่งผ่านอำนาจให้คนรุ่นต่อไป

ฟิเดลก็คือฟิเดล...คุณก็รู้ดี ฟิเดลไม่ใช่คนที่ใครจะมาแทนที่ได้และผู้คนจะยังคงสานต่องานของเขาต่อไปแม้เขาจะไม่ได้นั่งอยู่ในสภาก็ตาม
“...ฟิเดลยังคงอยู่กับเราด้วยสติปัญญาที่เฉียบคมเฉกเช่นเดิม...ไม่มีใครจะสามารถมีสิทธิอำนาจเท่าที่ฟิเดลมีมาได้อีกแล้ว ด้วยสิ่งที่เขาเป็นเพราะเขาคือผู้สร้างการปฏิวัติที่แท้จริง”


เห็นจะเป็นประโยคที่ราอูลกล่าวถึงฟิเดลอย่างเชื่อมั่นศรัทธาข้างต้น บรรดาผู้สังเกตการณ์จึงมองการส่งผ่านอำนาจคราวนี้ว่าจริงๆแล้วราอูลก็เพียงขึ้นมาออกหน้าเป็นตรายางให้พี่ชายผู้ที่ไฟในร่างชราแสนทรุดโทรมยังคุโชนเท่านั้นเองเนื่องจากฟิเดลมีปัญหาด้านสุขภาพอย่างหนักจนต้องเข้าโรงหมอซ่อมแล้วซ่อมอีกแล้วประโยชน์ใดหรือที่ชาติและเชื้อชนชาวคิวบาจะได้จากคาสโตรผู้น้อง? ในเมื่อเขาแย้มออกมาแล้วว่า คิวบาจะไม่ผิดไปจากที่เคยเป็นเสียตั้งแต่วันแรกที่รับตำแหน่ง

ราอูลกล่าวไว้ก่อนหน้าที่จะถูกเลือกขึ้นดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลของเขาคงจะปรับตัวบ้างเพื่อให้อยู่รอดได้ตามยุคสมัยเขาจึงเสนอให้กระจายอำนาจออกสู่หน่วยเทศบาลมากขึ้นและปรับปรุงส่วนราชการในฮาวานาให้กระเตื้องขึ้น

สิ่งที่จะตอกย้ำความยืนยงและบทบาทตรายางของ ราอูลคาสโตรได้เด่นชัดคงไม่พ้นคำพูดของฮูโกชาเวซประธานาธิบดีเวเนซุเอลา(พันธมิตรด้านเศรษฐกิจของคิวบา) สหายสนิทและทายาททางการเมืองของ ฟิเดลคาสโตรที่ว่ากันว่ารู้ข่าวการตัดสินใจนี้ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการที่พูดอย่างพึงพอใจและมั่นใจถึงการเปลี่ยนผู้นำครั้งนี้ว่า“เกิดขึ้นโดยปราศจากความเจ็บปวดรุนแรงใดๆการเปลี่ยนผ่านในคิวบาเกิดขึ้นเมื่อ49 ปีที่แล้ว จากทุนนิยมซึ่งปกครองโดยจักรวรรดินิยมที่มีคิวบาเป็นเมืองขึ้นการเปลี่ยนผ่านจะยังเดินหน้าต่อไปโดยมีฟิเดลคาสโตรนำขบวนอยู่เสมอ”

แต่ภารกิจที่ท้าทายความสามารถของราอูลที่สุดก็น่าจะเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจนั่นเอง เนื่องจากตั้งแต่ราอูลรักษาการประธานาธิบดีในปี 2006 เป็นต้นมา ชาวคิวบาต่างหวังว่าเขาจะสามารถทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับเงินเดือนที่เป็นธรรมภายในระบบการบริหารของรัฐ เขาได้สนับสนุนเวทีประชันนโยบายต่อปัญหาของประเทศ เขากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการสั่งการเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร อย่างไรก็ดี เขายังไม่ได้กระทำการใดดังที่ดำริริเริ่มไว้

...ฟิเดลไม่มีวันเกษียณ เขาจะยังครองพื้นที่ของเขาต่อไปในฐานะผู้นำการปะทะทางความเห็นการตัดสินใจครั้งนี้ยิ่งทำให้เขาสง่างามขึ้นไปอีก...อ้าว แล้วกัน!

โดย :: น.ส. ยิ้มเพียงเยาว์ วิยาภรณ์ ID : 5131007077

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บางครั้ง

ถ้าประชาธิปไตยมันยุ่งยากกก

ก็ดีนะ ที่จะใช้ระบบแบบนี้

ซึ่งถ้ามีขอบเขต ที่ไร้ซึ่งความรุนแรง

คงจะดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

้ถ้าเป็นระบบแบบนี้....

ก้ดีไปอย่างนะ แต่....มันจะเกิดเรื่องใหญ่ขึ้นมาอีกก้ได้..