วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สาธารณรัฐคิวบา

สาธารณรัฐคิวบา (Republic of Cuba)

ธงชาติ:


ตราแผ่นดิน:

คำขวัญ(สเปน) : Patria o Muerte ("Homeland or Death")

ที่ตั้ง :
ตั้งอยู่ในภูมิภาคแคริบเบียนเหนือ ที่จุดบรรจบของทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทรแอตแลนติก คิวบาตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสหรัฐอเมริกาภาคตะวันออก และหมู่เกาะบาฮามาส ทางทิศตะวันตกของเกาะเติร์กและหมู่เกาะเคคอสและประเทศเฮติ ทางทิศตะวันออกของเม็กซิโก และทางทิศเหนือของหมู่เกาะเคย์แมนและเกาะจาเมกา

การแบ่งเขตการปกครอง :
14 จังหวัด (provinces) และ 1 เทศบาลพิเศษ* (special municipality - Isle of Youth) ได้ประกอบขึ้นเป็นประเทศคิวบา เขตปกครองนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่จากเดิมมีเพียง 6 จังหวัด คือ ปีนาร์เดลรีโอ (Pinar del Río) อาบานา (Habana) มาตันซัส (Matanzas) ลัสบียัส (Las Villas) กามากูเอย์ (Camagüey) และโอเรียนเต (Oriente)

1.Isla de la Juventud (Isle of Youth)
2.Pinar del Río
3.La Habana (Havana)
4.Ciudad de la Habana (Havana City)
5.Matanzas
6.Cienfuegos
7.Villa Clara
8.Sancti Spíritus
9.Ciego de Ávila
10.Camagüey
11.Las Tunas
12.Granma
13.Holguín
14.Santiago de Cuba
15.Guantánamo

เพลงชาติ : La Batamesa (The Bayamo Song)
เมืองหลวง : ฮานาวา
ภาษาราชการ : ภาษาสเปน
สกุลเงิน : เปโซ
ประชากร : 11,382,820 คน (โดยประมาณ 2549)
พืชเศรษฐกิจ : อ้อย , กาแฟ , ข้าว , ยาสูบ , กล้วย , สับปะรด ฯลฯ
แร่ธาตุสำคัญ : เกลือแร่ , นิกเกิล , โครเมียม , ก๊าซธรรมชาติ , ทองแดง ฯลฯ


-------

สภาพเศรษฐกิจ :
คิวบาเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งก่อนการเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1959 ระบบเศรษฐกิจของคิวบาเป็นแบบทุนนิยม เพราะเศรษฐกิจถูกครอบงำโดยนายทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนายทุนชาวอเมริกัน
ผลผลิตที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจคิวบามากที่สุด คือ น้ำตาล โดยยาสูบทำรายได้รองมาเป็นอันดับ 2
เมื่อฟิเดล คาสโตร ขึ้นปกครองประเทศ รัฐบาลได้การปฏิรูปการเกษตรโดยออกกฎหมายที่มีสาระสำคัญดังนี้
1. ที่ดินของเอกชนซึ่งมีเนื้อที่เกิน 30 กาบาเยเรีย (Caballerias) หรือประมาณ 402 เฮกตาร์จะถูกโอนเป็นของรัฐ
2. ที่ดินของเอกชนถ้าใช้ทำไร่อ้อยจะได้รับการผ่อนผันให้มีเนื้อที่ได้ 100 กาบาเยเรียหรือประมาณ 1,342 เฮกตาร์
3. ที่ดินที่โอนเป็นของรัฐถ้าเป็นผืนใหญ่มากจะไม่นำไปแจกจ่ายให้แก่ชาวนา แต่จะจัดตั้งระบบสหกรณ์
4. รัฐจะแจกจ่ายที่ดินให้แก่ผู้เช่าที่นาทำกิน หรือรับจ้างทำนา หรือบุกเบิกที่ดินทำกินระหว่าง 2 ถึง 5 กาบายาเรียหรือประมาณ 27 ถึง 67 เฮกตาร์
5. จัดตั้ง"สถาบันการปฏิรูปการเกษตรแห่งชาติ" (Instituto Nacional de Reforma Agraria) เพื่อดำเนินการปฏิรูปการเกษตรดังกล่าวภายใต้การควบคุมของรัฐ
การปฏิรูปดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากชาวนายากจนและผู้ใช้แรงงานด้านการเกษตรอย่างมาก แต่เจ้าของที่ดินรายใหญ่ทั้งชาวคิวบาและชาวต่างประเทศซึ่งได้รับผลกระทบจากการยึดที่ดินคืนต่างอพยพออกจากคิวบาเป็นจำนวนมาก
ช่วงปี ค.ศ. 1960-1963 คิวบามุ่งจะสร้างความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจของชาติ เลิกระบบทุนนิยม จึงลดการปลูกอ้อย (เพราะน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อยเป็นสินค้าหลักของคิวบา ซึ่งมีอเมริกาเป็นคู่ค้ารายใหญ่/คิวบาตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาในปี 1962) โดยส่งเสริมการปลูกพืชอื่นแทนอ้อย แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะการลดปริมาณผลิตอ้อยทำให้กระทบกระเทือนรายได้เข้าสู่ประเทศและโครงสร้างเศรษฐกิจของคิวบาเอง ดังนั้นคิวบาจึงกลับมาส่งเสริมการปลูกอ้อยเช่นเดิม (ค.ศ. 1963)
การปฏิวัติไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในคิวบาค่อยๆเป็นไปทีละขั้นตอน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950 และมาสัมฤทธิผลในมศวรรษที่1970 แล้วกฌได้ผ่อนคลายมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีบ้างเล็กน้อยในทศวรรษ 1980 ในปัจจุบันแม้คิวบาจะยังจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีภาวะขาดดุลการค้าแก่ต่างชาติ และไม่มีสินค้าฟุ่มเฟือยตามท้องตลาดทั่วไป แตฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปทั้งประเทศและของประชาชนก็นับว่าอยู่ในระดับที่ดีกว่าประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันหลายประเทศ


----------

สภาพสังคม/วัฒนธรรม :
คิวบาเป็นสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติอยู่ปะปนกันโดยไม่มีการแบ่งแยกสีผิว ก่อนการปฏิวัติของฟิเดล คาสโตร ชาวคิวบาสวนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 72 ของประชาการทั้งหมด) นอกนั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ศาสนายิว และศาสนาที่ผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์กับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของของชนชาวผิวดำ ที่มาจากแอฟริกา ส่วนผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆมีสูงถึงร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด
ภายหลังการปฏิวัติ รัฐบาลของฟิเดล คาสโตร เห็นว่าศาสนาเป็นสิ่งขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและการปฏิวัติไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นจึงมุ่งกำจัดอิทธิพลของศาสนาให้หมดไป หนังสือเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนาถูกทำลาย โรงเรียนของศาสนจักรถูกยึดเป็นของรัฐ องค์กรทางศาสนาถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพ อิทธิพลของจักรวรรดินิยมอเมริกาถูกถอนรากถอนโคนจากสังคมคิวบา รัฐส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเชื้อชาติและระหว่างเพศ


-------------


ประวัติศาสตร์คิวบา(พอสังเขป) :
ชาวสเปนเดินทางมาถึงเกาะคิวบาครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2035 แต่ไม่ได้สนใจเกาะนี้มากนักในระยะแรกเพราะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีชาวอินเดียนอยู่น้อย จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเฮติเมื่อราวพ.ศ. 2333 คิวบาจึงกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำตาลของสเปนแทนที่เฮติ
คิวบาเป็นดินแดนสุดท้ายในทวีปอเมริกาที่เป็นอาณานิคมของสเปน โฮเซ่ มาตี จัดตั้งพรรคปฏิวัติคิวบาเมื่อ พ.ศ. 2435 เพื่อเรียกร้องเอกราชจนถูกฆ่าเมื่อพ.ศ. 2438 การเรียกร้องเอกราชของคิวบาได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเรือของสหรัฐเกิดระเบิดในอ่าวของกรุงฮาวานาเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ซึ่งกลายเป็นชนวนให้สหรัฐประกาศสงครามกับสเปน ผลของสงครามทำให้คิวบาได้รับเอกราชและอาณานิคมอื่นของสเปนกลายเป็นของสหรัฐ
หลังจากได้รับเอกราช คิวบาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐมาก ในบางช่วงเช่น พ.ศ. 2460 - 2466 คิวบาถูกสหรัฐยึดครองและเข้ามาบริหารโดยตรง ทั้งนี้เพราะสหรัฐมีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำตาลของคิวบา อิทธิพลของสหรัฐสิ้นสุดลงเมื่อ ฟิเดล คัสโตร เข้ายึดอำนาจจากประธานาธิบดี ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา และบริหารประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมเมื่อ พ.ศ. 2502 เมื่อถูกสหรัฐตัดความสัมพันธ์และปิดกั้นทางการค้า และสหรัฐสนับสนุนชาวคิวบาโพ้นทะเลให้ก่อกบฏล้มรัฐบาลของคัสโตรจนเกิดวิกฤตการณ์เบย์ออฟฟิกส์เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2514 แต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลของคัสโตรจึงหันไปสร้างความสัมพันธ์กับโซเวียตและจีนแทน ปัจจุบันคิวบาเป็น 1 ใน 5 ประเทศคอมมิวนิสต์ในโลก (อีก 4 ประเทศคือ จีน เวียดนาม ลาว และเกาหลีเหนือ) และเป็นประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์


-------------


การปฏิวัติคิวบา


การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของคิวบาในปี ค.ศ. 1959 มีสาเหตุสำคัญมาจากปัญหารการครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองของอเมริกาที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเข้าไปลงทุนขยายกิจการปลูกอ้อยและการทำอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลของบริษัทอเมริกัน และบริษัทต่างชาติอื่นๆ ได้ทำให้ผู้ผลิตอ้อยและผู้ผลิตน้ำตาลรายย่อยตลอดจนนายทุนระดับชาติของคิวบาไม่สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากมีทุนน้อยกว่าจนต้องเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก จากในสถิติปี ค.ศ. 1959 นั้น บริษัทอเมริกันเป็นเจ้าของโรงงานผลิตน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุด 9 ใน 10 แห่งของคิวบา นอกจากนั้น ชาวอเมริกันยังเป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้าและโทรศัพท์ถึงร้อยละ 90 กิจการรถไฟร้อยละ 50 กิจการธนาคารร้อยละ 25 กิจการน้ำมันและเหมืองแร่เกือบทั้งหมด เป็นต้น สินค้าที่เข้ามาจากอเมริกาในแต่ละปีก็มูลค่ามหาศาล อันทำให้คิวบาต้องพึ่งพาอเมริกาและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นเริ่มต้นของคิวบาอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ สภาวะเศรษฐกิจของคิวบาจึงถูกกำหนดโดยอเมริกาอย่างแท้จริง
ในทางการเมืองนั้น ผู้บริหารประเทศของคิวบาในระดับต่างๆจำนวนมากอยู่ภายใต้อิทธิพลของอเมริกา จึงพร้อมที่จะวางนโยบายเศรษฐกิจเพื่อสนองการลงทุนของนายทุนต่างชาติ แต่ไม่มีมาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนของนายทุนคิวบา และช่วยพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความไม่พอใจการใช้อำนาจการปกครองแบบเผด็จการของประธานาธิบดีบาติสต้า ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ผู้มีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจากรัฐบาลสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และผู้ที่คัดค้านรัฐบาลก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง

ในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 ฟิเดล คาสโตร นักกฎหมายชาวคิวบาได้นำกำลังติดอาวุธกว่า 100 คนเข้าโจมตีค่ายทหารมอนกาดา(Moncada) ที่เมืองซานติอาโก เด กูบา แต่ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายทหาร อย่างไรก็ตามการกระทำครั้งนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโค่นล้มประธานาธิบดีบาติสตา และเป็นที่มาของ "ขบวนการ 26 กรกฎาคม" ฟิเดล คาสโตรและน้องชายชื่อ ราอูล คาสโตร ถูกจับและถูกพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 15 ปี แต่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 กลุ่มของคาสโตรได้รับการอภัยโทษ จึงได้เดินทางไปยังอเมริกาและเม็กซิโกเพื่อเตรียมการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่ง
ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1956 ฟิเดล คาสโตร พร้อมด้วย Ernesto Che Guevara นักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา จึงได้นำกองกำลังติดอาวุธ 82 คนจากเม็กซิโกมาขึ้นฝั่งที่จังหวัดโอเรียนเตในคิวบา กองกำลังดังกล่าวได้ปะทะกับทหารของรัฐบาลและรอดชีวิตเพียง 12 คน จึงต้องหลบหนีไปตั้งมั่นอยู่บริเวณเทือกเขามาเอสตรา เพื่อใช้เป็นฐานทำการปฏิวัติต่อไป
บรรดานักปฏิวัติที่รอดตายเหล่านี้ไม่มีใครเลยที่มาจากชนชั้นกรรมกรและชาวนา
-ฟิเดล คาสโตรและดอร์ติโกส เป็นนักกฎหมาย
-ราอูล คาสโตรและโชมอน เป็นนักศึกษา
-เปเรสและบาเยโฮ เป็นแพทย์
-ปาอิส เป็นอาจารย์
-เซียนฟูเอโกสและอัลเมเฮอิราส เป็นชนชั้นกลางที่ตกงาน
-เช กูวาร่าเป็นนักศึกษาแพทย์
ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1956 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1958 มีผู้เข้าร่วมสมทบในกองกำลังปฏิวัติเพียงประมาณ 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรรมกรโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ใช้แรงงานในไร่นา และชาวนายากจน บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เลื่อมใสหรือเข้าใจอุดมการณ์สังคมนิยมแต่อย่างใด แต่ต้องการเพียงจะต่อสู้กับพวกนายทุนที่กดขี่เอารัดเอาเปรียบและยึดที่ดินทำกิน ฝ่ายปฏิวัติต้องสร้างพันธมิตรกับชาวนาในเขตที่ทำสงครามจรยุทธ์โดยให้สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนด้านวัตถุ เช่น ช่วยซื้อผลิตผลทางการเกษตรและจัดหาเครื่องอุปโภคที่ขาดแคลนมาให้ เป็นต้น
ความไม่พอใจระบอบเผด็จการของบาติสต้าและสภาพสังคที่เป็นอยู่ทำให้มีการแสดงพลังต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มต่างๆหลายครั้ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 นักศึกษาได้กโจมตีทำเนียบประธานาธิบดี ในเดือนสิงหามปีเดียวกัน ได้มีการนัดหยุดงานทั่วไป ในเดือนต่อมาทหารเรือที่เมืองเซียนฟูเอโกสได้ก่อการแข็งข้อต่อรัฐบาล และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 ก็ได้มีการนัดหยูดงานทั่วไปอีก ในเวลาเดียวกนนี้ ขบวนการปฏิวัติของฟิเดล คาสโตร ก็สามารถเปิดแนวรบที่ 2 ที่เทือกเขากริสตาล
วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1959 กองกำลังฝ่ายปฏิวัติก็ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด โดยเข้ายึดกรุงฮาวานาได้ด้วยกำลังที่มีไม่ถึง 2,000 คน ประธานาธิบดีบาติสต้าหลบหนีไปสาธารณรัฐโดมินิกัน ถือเป็นความสำเร็จของคณะปฏิวัติ

การปฏิวัติไปสู่ระบบสังคมนิยมก่อให้เกิดผลเสียหายเป็นอย่างมากต่อนายทุนชาวอเมริกันที่เคยมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองในคิวบา ซึ่งในที่สุดก็ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบากับอเมริกาต้องเสื่อมทรามลง อเมริกาได้จำกัดจำนวนการนำเข้าน้ำตาลจากคิวบา ปิดล้อมเมืองท่าคิวบาเพื่อขัดขวางการขนถ่ายสินค้า ตลอดจนส่งกองกำลังติดอาวุธ เข้ารุกรานคิวบา อันนำไปสู่กรตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศในเดือนมกราคม ค.ศ. 1961 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1962 องค์การนานารัฐอเมริกัน(Organizacion de los Estados Americanos) ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของอเมริกาก็ได้ขับไล่คิวบาออกจากการเป็นสมาชิก เมื่อสภาพการณ์เป็นเช่นี้ รัฐบาลคิวบาจึงต้องรีบปฏิวัติไปสู่ระบบสังคมนิยมให้เร็วยิ่งขึ้นเพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงของชาติ คิวบาได้เสริมสร้างกำลังทหาร ในขณะเดียวกันก็ได้กระชับความสัมพันธฺกับสหภาพโซเวียตมากขึ้น เพื่อขอความช่ยเหลือในการพัฒนาเศรษฐกิจและกองทัพ ในช่วงเวลานี้เองที่คิวบาได้รับรูปแบบการจัดระบบการเมืองการปกครองจากสหภาพโซเวียตมาเรื่อยๆ มีการจัดองค์การทางการเมืองและองค์การทางเศรษฐกิจแบบสหภาพโซเวียต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1965 พรรคการเมืองภายใต้การนำของฟิเดล คาสโตร ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาใช้ชื่อว่า "พรรคคอมมิวนิสต์คิวบา" (Partido Communista de Cuba)
ในที่สุดเมื่อฟิเดล คาสโตร เห็นว่าระบบสังคมนิยมในคิวบามีความมั่นคงเพียงพอแล้วจึงได้ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองครั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1976 โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้มีสถาบันและกระบวนการทางกรเมืองที่ใกล้เคียงกับของสหภาพโซเวียต เริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่นโดยตรง และให้มีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยตัวแทนประชาชน ระบบดังกล่าวได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน...

สรุปโดยสังเขป
การปฏิวัติไปสู่ระบบสังคมนิยมในคิวบาเกิดจากการที่คณะบุคคลกลุ่มหนึ่งนำโดยฟิเดล คาสโตร มีความไม่พอใจต่อระบอบเผด็จการของประธานาธิบดีบาติสต้า และการครอบงำทางเศรษกิจและการเมืองของอเมริกา ซึ่งทำให้คิวบาถูกเอารัดเอาเปรียบและตักตวงผลประโยชน์ไปเป็นจำนวนมาก บุคคลกลุ่มนี้จึงได้ใช้กำลังติดอาวุธเข้าต่อสู้และยึดอำนาจจากรัฐบาล หลังจากนั้นได้ปฏิวัติไปสู่ระบบสังคมนิยม การเปลี่ยนแปลงของคิวบาทำให้อเมริกาไม่พอใจและตัดความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน คิวบาจึงหันไปใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตและรีบเร่งพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การเมืองและการทหารให้มั่นคงโดยมีสหภาพโซเวียตเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ


------------



วัฒนธรรมทางการเมืองของคิวบา


วัฒนธรรมทางการเมืองของคิวบาเป็นแบบอำนาจนิยมที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี ตลอดเวลาที่สเปนปกครองคิวบานั้น สเปนได้ใช้วิธีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้การปกครองของผู้ว่าที่ส่งมาจากสเปน แม้จะมีคณะกรรมการบริหารแต่ละเมืองแต่คณะกรรมการเหล่านนี้ก็ต้องรับนโยบายจากผู้ว่าการ และอำนาจสิทธิ์ขาดทั้งหมดก็อยู่ที่ผู้ว่าการซึ่งเป้นตัวแทนของกษัตริย์สเปน ชาวอาณานิคมทั้งที่เป็นชาวสเปนและชาวผิวดำแอฟริกันไม่มส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

ต่อมาในสมัยที่อเมริกาเข้ามาปกครองปกครองคิวบาในเวลาอันสั้น แม้อเมริกาจะแสดงให้เห็นว่า ได้พยายามที่จะช่วยคิวบาวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยสนับสนุนให้มีรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองเหมือนของสหรัฐอเมริกา แต่ในทางปฏิบัติ การปกครองของอเมริกาก็คล้ายคลึงกับของสเปน คือ มีผู้ว่าการฝ่ายทหารที่มีอำนาจเด็ดขาดเข้ามาควบคุมดูแล

ครั้นเมื่อคิวบาเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์ ระบอบประชาธิปไตยของคิวบาก็มีอายุไม่ยืนยาว ทั้งนี้เพราะผู้นำส่วนใหญ่ต่างก็นิยมใช้อำนาจเด็ดขาดปกครองประเทศ จนในที่สุดก็ได้ใช้กำลังทหารยึดอำนาจการปกครอง ทำให้ประเทศตกอยู่ในระบบเผด็จการอีกครั้งหนึ่ง (เห็นได้ชัดจากกรณีประธานาธิบดีบาติสต้า)

เมื่อฟิเดล คาสโตร ขึ้นสู่อำนาจก็ได้ปกครองประเทศด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ประชาชนคิวบาจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการมาเกือบโดยตลอด ประชาชนมีความเคยชินกับกระบวนการทางการเมืองที่มีผู้นำเด็ดขาด มีบุญบารมีเป็นที่ยอมรับของประชาชน ซึ่งทำให้การตัดสินใจทางการเมืองจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง อุดมการณ์ทางการเมือง สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชนไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดนโยบาย หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ

เมื่อประธานาธิบดีบาติสต้า ยังอยู่ในตำแหน่ง อำนาจบริหารประเทศทั้งหมดอยู่ที่ประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เมื่อบาติสต้าหลบหนีออกไปนอกประเทศในปี ค.ศ. 1958 สถาบันทางการเมืองเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ กรมตำรวจ รัฐสภา หรือศาลจึงไม่สามารถปฏิบัติราชการต่อไปได้เพราะขาดผู้สั่งการ และเมื่อฟิเดล คาสโตร เข้ามายึดอำนาจการปกครองแล้ว ฟิเดลเองก็ไม่ได้อาศัยกองทัพ พรรคการเมือง สหภาพกรรมกร หรือจนชั้นชานารายย่อยเป็นกำลังสนับสนุน อีกทั้งยังไม่มีอุดมการณ์ซึ่งโน้มน้าวให้มวลชนสนับสนุนการปฏิวัติเลย คงมีเพียงชนชั้นกลางจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ให้การสนับสนุนอย่างแท้จริง ฟิเดล คาสโตรจึงเป็นผู้นำที่โดดเด่นแต่เพียงผู้เดียว ประชาชนเห็นด้วยและสนับสนุนฟิเดล คาสโตร ก็เพราะต้องการให้โค่นล้มบาติสต้าและระบอบเผด็จการเท่านั้น เมื่อฟิเดล คาสโตร ทำได้สำเร็จ ประชาชนก็ยอมรับในตัวฟิเดล คาสโตรในฐานะผู้นำ ไม่ใช่พรรคหรืออุดมการณ์ใดๆ แม้ฟิเดล คาสโตร จะใช้อำนาจเผด็จการเช่นเดียวกับบาติสต้า แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยอมรับการปกครองและการนำของฟิเดล คาสโตร ในฐานะวีรบุรุษที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคม และมุ่งสร้างคิวบาให้เป็นรัฐเอกราชที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง นอกจากนั้นคุณสมบัติส่วนตัวของฟิเดล คาสโตร ที่เป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำขบวนการปฏิวัติมาโดยตลอด ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของบรรดาทหารจรยุทธ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ที่รับผิดชอบตำแหน่งสำคัญๆของประเทศ

การยึดมั่นในตัวบุคคลโดยไม่ให้ความสำคัญต่อสถาบันทางการเมืองและอุดมการณ์ทางการเมืองนี้เรียกว่า "ลัทธิบูชาตัวบุคคล" (Personalismo) ซึ่งสนับสนุนให้เกิด"ผู้นำ"(Caudillo) ที่มีอำนาจเด็ดขาดสูงสุด เป็นสัญลักษณ์และศูนย์รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมการเมือง ดังนั้น การริเริ่มหรือการกระทำใดๆที่เป็นของฟิเดล คาสโตรจึงเป็นที่มาของแนวนโยบายแห่งรัฐ


ในระยะแรกที่เริ่มทำการปฏิวัตินั้น มีบุคคลจำนวนมากที่เชื่อว่าฟิเดล คาสโตร ยังไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ เพราะฟิเดลมุ่งเพียงแต่โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการของบาติสต้า และขจัดอิทธิพลของอเมริกาให้หมดไปจากคิวบาเท่านั้น จึงเป็นเพียงนักชาตินิยมและนักปฏิวัติหัวก้าวหน้า ฟิเดลไม่เคยศึกษาสรรนิพนธ์หรือทฤษฎีปฏิวัติของนักคิดคอมมิวนิสต์คนใดคนหนึ่งอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นของคาร์ล มาร์กซ์ เลนิน เหมาเจ๋อตุง หรือโวเหงียนเกี๊ยบ อุดมการณ์และความคิดของผู้นำคอมมิวนิสต์เหล่านี้เพิ่งจะเข้าไปมีอิทธิพลต่อความคิดของฟิเดลในภายหลัง แม้แต่หนังสือพิมพ์ปราฟดาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตฉบับวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1959 ก็ยังลงข่าวการยึดอำนาจรัฐของฟิเดล คาสโตรว่า ฟิเดลเป็นนักชาตินิยมผู้ต่อต้านเผด็จการและจักรวรรดินิยมแต่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ฟิเดลได้แรงบันดาลใจในการปฏิวัติมาจากโฮเซ่ ฮูเลียน มาตร์ตี ผู้ก่อตั้งพรรคปฏิวัติคิวบาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 Simon Bolivar นักปฏิวัติชาวเวเนซูเอลา และวีรบุรุษที่มีลักษณะ "ผู้นำ" คนอื่นๆของลาตินอเมริกา

ในภายหลังเมื่อฟิเดลประกาศตนอย่างเปิดเผยว่าเป็นคอมมิวนิสต์และจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น ประชาชนผู้นิยมและยกย่องศรัทธาฟิเดล คาสโตร ก็พร้อมที่จะเป็นคอมมิวนิสต์ไปตามผู้นำ ดังนั้น แกนนำในการปฏิวัติที่แท้จริงคือ ฟิเดล คาสโตร ไม่ใช่พรรคคอมมิวนิสต์ จำนวนชาวคิวบาที่เป็น "ผู้นิยมคาสโตร" (castrist) มีมากกว่า "ผู้นิยมคอมมิวนิสต์" เสียอีก

ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมลัทธิบูชาตัวบุคคลของฟิเดล คาสโตรทั่งทั้งสังคมคิวบา นับตั้งแต่เยาวชนรุ่นเล็กจนถึงประชาชนทั่วไป ทุกคนจะได้รับการอบรมให้เคารพยกย่องฟิเดล คาสโตร เหมือนกับที่ชาวีนเคยคลั่งไคล้ประธานเหมาเจ๋อตุง หรือชาวเวียตนามเคารพรักโฮจิมินห์ หรือชาวเกาหลีเหนือศรัทธาคิมอิลซุง มีบทเพลงชื่อ "ทุกคนร่วมกับฟิเดล" (Todos con Fidel) เป็นที่นิยมร้องกันไปทั่ว สถานที่หรือสิ่งของที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวประวัติของฟิเดล คาสโตร จะได้รับการยกย่องให้มีความสำคัญต่อชาต เช่ย ค่ายทหารที่มอนกาดา "ศูนย์การศึกษา 26 กรกฎาคม" เป็นต้น นอกจากนั้น โฮเซ่ ฮูเลียน มาร์ตี และเช กูวาร่า ก็ได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษของชาติเช่นกัน

การปฏิวัติไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ของคิวบาประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง เป็นเพราะการปฏิวัติเริ่มต้นจากการสร้างผู้นำซึ่งเป็นที่ศรัทธาในหมู่ประชาชน แล้วให้ประชาชนปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ ถ้าการปฏิวัติเริ่มต้นจากการปลูกฝังอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ให้ประชาชนเกิดจิตใต้สำนึกในการปฏิวัตด้วยตนเองแล้ว ก็อาจจะประสบผลสำเร็จช้ามากหรือไม่ประสบผลสำเร็จเลย.....











โดย น.ส.สมาภรณ์ จันธิมา ID: 5131007093

ไม่มีความคิดเห็น: